“ไกลแค่ไหนก็ใกล้” Teach from Home อย่างไร ให้ครูรอด เด็กรู้

การปรับไปเรียนและสอนในแพลตฟอร์มออนไลน์อย่างกะทันหัน เหมือนโยนครูและนักเรียนลงในทะเล ทุกคนต้องหาทางเอาตัวรอดท่ามกลางคลื่นลมเทคโนโลยีที่ไม่คุ้นเคยด้วยตัวเอง

แล้วครูจะสอนอย่างไร เด็กจะเรียนอย่างไร โดยที่ยังคงรักษา ‘ความใกล้’ ให้ได้มากที่สุด

พาครูตั้งหลัก เมื่อต้องสอนออนไลน์

  • ครูต้องทำงานเป็นทีม

แชร์ไอเดียการเรียนการสอนออนไลน์และหาแนวทางออกแบบการสอนร่วมกัน เช่น หาเว็บไซต์หรือโปรแกรมเหมาะสมที่สุด และครูใช้แพลตฟอร์มการสอนเดียวกันเพื่อไม่ให้เด็กสับสน

  • มีพื้นที่ให้เด็กคุยกัน

ครูต้องสร้างพื้นที่ให้เด็กได้ถกเถียง แลกเปลี่ยน พูดคุย อภิปรายกัน ถ้าตัดช่องทางนี้ไป ความรู้จะไม่เกิด

  • ติดต่อสื่อสารกับเด็กอยู่เสมอ

หมั่นติดต่อสื่อสารกับเด็กอยู่เสมอ และโรงเรียนควรวางนโยบายที่จะทำให้ครูไม่รู้สึกว่าคุกคามเด็ก หรือเด็กรู้สึกว่าครูเข้าใกล้เกินไป

3 แนวทางรักษาความสัมพันธ์ เด็กรอด – ครูรอด

  • ครูกับนักเรียนต้องคุยกัน

ครูจะต้องคุยกันเพื่อเช็คความสัมพันธ์ด้วยว่า จะเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในชั้นเรียนอย่างไร ผู้เรียนกับครู ครูกับนักเรียนแต่ละคน นักเรียนกับนักเรียนด้วยกัน

  • ออกแบบเนื้อหาให้สอดคล้องกับเด็ก

ครูควรออกแบบเนื้อหาให้สอดคล้องกับชีวิตของเด็กที่เปลี่ยนไป เช่น นำเรื่อง COVID-19 มาออกแบบเนื้อหาการเรียนการสอน

  • เชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ให้เด็กทำได้จริงจากบ้าน

ครูควรเชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ให้เด็กทำได้จริง เช่น ทำลิสต์ของต่างๆ แล้วให้เด็กแต่ละคนไปวิ่งหาของในบ้าน 1 ชิ้น จากนั้นแบ่งเป็นกลุ่มย่อย ให้เวลาคนละ 5 นาที ผลัดกันโฆษณาขายของชิ้นนั้นให้เพื่อน

ออกแบบกิจกรรมให้เด็กสามารถใช้ของในบ้านมาประยุกต์ใช้ประกอบการเรียนได้

อ่าน : “หนูไม่เข้าใจ ครูสอนอะไร” Teach from Home อย่างไร ครูกับเด็กยังใกล้ เข้าใจและไม่ง่วง ได้ที่นี่

ที่มา: ดร.ปวีณา แช่มช้อย อาจารย์ประจำคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 , , ,