แม้ COVID-19 จะเข้ามาชะงักวิถีชีวิตของผู้คน ทว่าโครงการต่างๆ ของรัฐก็ยังดำเนินต่อไป ปฏิบัติการ Mob from Home จึงเริ่มขึ้น เพื่อคัดค้านโครงการกำแพงกันคลื่นบนชายหาด ผู้คนมากมายต่างร่วมใจกันชูป้ายเพื่อส่งเสียงต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้ว และที่กำลังจะเกิดขึ้น

จากการรวบรวมข้อมูลและศึกษาผลกระทบของการสร้างกำแพงกันคลื่นบนชายหาดทราย กลุ่ม Beach for Life พบว่า เมื่อหาดทรายถูกกีดขวางด้วยกำเเพงกันคลื่น แรงคลื่นที่วิ่งเข้ามาปะทะกำเเพงกันคลื่นจะเปลี่ยนระดับความแรงไปจากเดิม คลื่นจะตะกุยทรายด้านหน้าของกำแพงกันคลื่นออกไปนอกชายฝั่งมากขึ้นจากปกติ และปลายสุดของกำแพงกันคลื่นจะเกิดการกัดเซาะชายฝั่ง

กำเเพงกันคลื่น เป็นโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง ที่มีหน้าที่ตรึงเเผ่นดินด้านหลังกำเพงไม่ให้มีการเปลี่ยนเเปลงจากอิทธิพลของคลื่นที่เข้ามาปะทะ ถึงเเม้จะมีหน้าที่ป้องกันชายฝั่ง เเต่กำเเพงกันคลื่นก็มีผลกระทบต่อพื้นที่ชายฝั่งใกล้เคียง เเละผลกระทบที่เกิดขึ้นเมื่อคลื่นวิ่งเข้ามาปะทะชายหาด อย่าลืมว่า การก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นลงบนชายหาด เป็นการเปลี่ยนเเปลงสภาพของหาดทราย โดยวัสดุอื่นๆ ที่ไม่ใช่เม็ดทราย เพราะคุณสมบัติเม็ดทรายที่รวมกันเป็นหาดทรายนั้น ทำให้หาดทรายมีความเป็นวัตถุกึ่งเเข็งกึ่งเหลว ยึดหยุ่นเเละปรับเปลี่ยนตัวเองได้ตามปัจจัยแวดล้อม

เเต่เมื่อหาดทรายถูกกีดขว้างโดยกำเเพงกันคลื่น แรงคลื่นที่วิ่งเข้ามาปะทะกำเเพงกันคลื่นก็จะเปลี่ยนระดับความแรงไปจากเดิม คลื่นจะตะกรุยทรายด้านหน้าของกำแพงกันคลื่นออกไปนอกชายฝั่งมากขึ้นจากปกติ และปลายสุดของกำแพงกันคลื่นจะเกิดการกัดเซาะชายฝั่งซึ่งเป็นผลจากการเลี้ยวเบนของคลื่นที่ปะทะกับกำเเพงกันคลื่น ทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่ด้านท้ายน้ำของกำเเพงกันคลื่น

การก่อสร้างกำแพงกันคลื่นในพื้นที่หนึ่งส่งผลทำให้พื้นที่ใกล้เคียงหรือด้านท้ายน้ำเกิดการกัดเซาะชายฝั่งนั้น เป็นคำถามสำคัญถึงความสำเร็จของโครงการว่าสามารถป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งได้หรือไม่ เนื่องจากการก่อสร้างนั้นได้สร้างผลกระทบทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งนั้นพื้นที่ใกล้เคียง ดังนั้นการดำเนินการก่อสร้างกำแพงกันคลื่น จึงไม่อาจบรรลุวัตถุประสงค์ในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง แต่เป็นการซ้ำเติม และเร่งการกัดเซาะชายฝั่งให้เกิดขึ้นในพื้นที่ถัดไป
ข้อมูลจากเพจ Beach for life ‘กำเเพงกันคลื่น : หายนะหาดทรายไทย’